|
|
|
|
ได้รับการบอกเล่ามาจากอดีตกำนันตำบลท่าโพธิ์ คือ นายเกรียง นุชท่าโพธิ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวบ้านได้ให้ความเคารพ
และนับถือเป็นอย่างมาก กำนันเกรียงได้เล่าประวัติของหมู่บ้านให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้นการคมนาคมทางรถยังไม่มี ต้องอาศัย
การคมนาคมทางเรือแทน ซึ่งแล่นตามแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำสายหลักของการคมนาคม ดังนั้นการที่จะเรียกว่าท่าเรือ และใช้สัญลักษณ์ ของท่าน้ำเป็นหลักบ้านท่าโพธิ์ |
|
|
จะมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตรงที่ท่าเรือ คนที่ท่าเรือและคนที่ผ่านมาแถวนี้จึงเรียกว่า ท่าโพธิ์
และเรียกบ้านแถวนั้นว่าบ้านท่าโพธิ์ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ |
ประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มาจากที่อื่นไม่ได้มีประชากรที่บ้านท่าโพธิ์อย่างเดียว ซึ่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าโพธิ์
จำนวนหนึ่งและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันเมื่อมีผู้คนเริ่มมากขึ้นจึงทำให้มีการปรับปรุงถนนหนทางบริเวณบ้านท่าโพธิ์
มากขึ้นเพื่อให้ติดต่อสื่อสารกับหมู่บ้านอื่นๆ และมีผู้คนจะเรียกบ้านท่าโพธิ์มาจนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ตั้งอยู่ เลขที่ 99/99 หมู่ 6 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
อยู่ห่างจากอำเภอเมืองพิษณุโลก ไปทางทิศใต้ ประมาณ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยประมาณ 31,300 ไร่
หรือประมาณ 50.7 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
  |
|
|
|
   |
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลท่าทอง |
อำเภอเมือง |
จังหวัดพิษณุโลก |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลวัดพริก |
อำเภอเมือง |
จังหวัดพิษณุโลก |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบึงพระ |
อำเภอเมือง |
จังหวัดพิษณุโลก |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบางระกำ |
อำเภอบางระกำ |
จังหวัดพิษณุโลก |
|
|
|
    |
|
  |
|
|
|
   |
|
|
|
|
|
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำน่านไหลผ่าน แบ่งพื้นที่
ตำบลท่าโพธิ์ ออกเป็น
2 ส่วน ที่ราบสองฝั่งเกิดจากการตกตะกอน
หรือการทับถมประกอบขึ้นเป็นคันดินธรรมชาติบริเวณ
สองฟากลำน้ำน่านถัดจากคันดินธรรมชาติบริเวณ
ชายฝั่งแม่น้ำออกไปจะเป็นที่ราบ
น้ำท่วมโดยมีหนอง บึง หรือที่ลุ่มน้ำขังกระจายอยู่ทั่วไป
ลักษณะดินตะกอนที่ทับถม
มีทั้งดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง |
|
|
ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
จนถึงดินเหนียว ระดับความสูงของพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ จะลาดเอียงจากทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของตำบล ซึ่งมีความสูงประมาณ 40 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลางลาดเอียดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทางทิศใต้ของตำบล
ซึ่งมีระดับสูงประมาณ 33 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
อันเป็นบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำของตำบลท่าโพธิ์ ติดต่อกับเขตอำเภอบางระกำ ซึ่งอาจพิจารณาแบ่งรายละเอียดได้ 3 เขต คือ
|
|
1. เขตคันดินธรรมชาติ ได้แก่สองฝั่งแม่น้ำน่าน ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนดินและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่แม่น้ำพัดพามา
ทับถมกัน |
2. เขตที่ราบน้ำท่วม ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดจากเขตหมู่บ้าน หรือห่างจากแม่น้ำน่านออกไปทั้งสองฝั่งมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
ในฤดูฝนหรือน้ำหลากจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำเป็นพื้นที่ี่
ที่เหมาะสำหรับการทำนามากกว่าการเพราะปลูกพืชชนิดอื่น ๆ |
3. หนอง บึง หรือที่ลุ่มน้ำขัง ในบริเวณที่ราบน้ำท่วมที่กล่าวถึงมาแล้วนั้น จะมีพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นหนองบึงแทรกปนอยู่หลายแห่ง
เช่นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลท่าโพธิ์มีลึก ทุ่งโศกา ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็มี หนองอ้อ คลองหนองเหล็ก บึงจาน
หนองหลวง เป็นต้น หนองบึงดังกล่าวจะมีน้ำท่วมขังอยู่เกือบตลอดปี จึงเป็นแหล่งรองรับน้ำธรรมชาติและแหล่งสัตว์น้ำ ที่สำคัญในอดีต
ปัจจุบันนี้ที่เหล่านี้จะเป็นแหล่งตื้นเขิน บางส่วนก็มีหน่วยงานทางราชการน้ำไปใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ทุ่งหนองอ้อเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนเรศวร
ทุ่งโศกาเป็นที่ตั้งค่ายพระยาจักรี เป็นต้น นอกจากการใช้พื้นที่ในลักษณะดังกล่าวแล้ว การขุดคลองระบายน้ำ คลองส่งน้ำ ชลประทานและการก่อสร้างทางหลวงผ่านพื้นที่ทำให้ระบบนิเวศของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปมากมาย |
|
|
|
|
|
ภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบลท่าโพธิ์เป็นอากาศร้อนชื้น ประกอบด้วย 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
|
|
อาชีพประชากร |
การเกษตร |
|

 |
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพรองลงมาได้แก่ค้าขายและการประมง
ตำบลท่าโพธิ์มีพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 15,369 ไร่ |
การประมง |
|

 |
การทำประมงส่วนใหญ่เลี้ยงในบ่อดิน |
การปศุสัตว์ |
|

 |
การเลี้ยงสัตว์ตำบลท่าโพธิ์ส่วนใหญ่
เลี้ยงไว้รับประทาน ที่เหลือจึงจำหน่าย สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร โค และกระบือ |
|
|
|
  |
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 25,223 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 9,994 คน |
คิดเป็นร้อยละ 36.92 |

 |
หญิง จำนวน 15,229 คน |
คิดเป็นร้อยละ 60.38 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 8,815 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 498 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านวังส้มซ่า |
363 |
425 |
788 |
284 |
|
 |
2 |
|
บ้านวังส้มซ่า |
547 |
594 |
1,141 |
424 |
 |
|
3 |
|
บ้านวังวน |
717 |
740 |
1,457 |
606 |
|
 |
4 |
|
บ้านคลองคู |
284 |
308 |
592 |
201 |
 |
|
5 |
|
บ้านยาง |
533 |
559 |
1,092 |
481 |
|
 |
6 |
|
บ้านยางเอน |
583 |
664 |
1,247 |
517 |
 |
|
7 |
|
บ้านท่าโพธิ์ |
1,234 |
1,467 |
2,701 |
4,194 |
|
|
8 |
|
บ้านแขก |
810 |
954 |
1,764 |
1,456 |
 |
|
9 |
|
บ้านคลองหนองเหล็ก |
4,403 |
8,984 |
13,387 |
282 |
|
|
10 |
|
บ้านหัวกระทิง |
294 |
309 |
603 |
213 |
 |
|
11 |
|
บ้านในไร่ |
226 |
225 |
451 |
157 |
|
|
|
|
|
รวม |
9,994 |
15,229 |
25,223 |
8,815 |
 |
|
|
  |
|
|
|
   |
|
|