หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ท่าโพธิ์ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
   
 
ชาวบ้านในตำบลท่าโพธิ์มีสภาพความเป็นอย ู่แบบเรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมทางศาสนา
 
 
 
         
การคมนาคมขนส่ง


ถนนลาดยาง จำนวน 20 สาย

ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 224 สาย

ถนนลูกรัง/ดิน จำนวน 76 สาย

สะพานคอนกรีต จำนวน 10 แห่ง
ข้อมูลจากกองช่าง ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559
 
ถนนสายหลักที่ตัดผ่านตำบลท่าโพธิ์ จำนวน 5 สาย
1. ทางหลวงหมายเลข 117 (สายพิษณุโลก-นครสวรรค์) จากตัวเมืองพิษณุโลกตัดผ่านตำบลท่าโพธิ์ทางด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ช่วงจราจร สามารถติดต่อกับจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์และจังหวัดอื่นๆ ได้สะดวก
2. ทางหลวงหมายเลข 1065 (สายพิษณุโลก-บางระกำ) จากตัวเมืองพิษณุโลกตัดผ่านเข้าเขตตำบลท่าโพธิ์ทางด้านทิศเหนือ บริเวณพื้นที่หมู่ 4 บ้านคลองคู ไปสู่ที่ตั้งอำเภอบางระกำ สามารถติดต่อไปจนถึงจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดสุโขทัยได้ 
3. เส้นทางสายพิษณุโลก-กำแพงดิน เส้นทางนี้เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักของพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน มาตั้งแต่อดีต เส้นทางตัดผ่านบริเวณพื้นที่ หมู่ 5 บ้านยาง หมู่ 6 บ้านยางเอน หมู่ 7 บ้านท่าโพธิ์ และหมู่ 8 บ้านแขก ไปเชื่อมกับทางหลวง หมายเลข 1065 (พิษณุโลก-บางระกำ) 
4. ทางหลวงหมายเลข 1063 (สายพิษณุโลก-บางกระทุ่ม)จากตัวเมืองพิษณุโลก ตัดผ่านเขตตำบลท่าโพธิ์ ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ในเขตพื้นที่หมู่ 1 และหมู่ 2 บ้านวังส้มซ่า และหมู่ 3 บ้านวังวน ไปสู่ที่ตั้งอำเภอบางกระทุ่ม 
5. ทางหลวงหมายเลข 12 (สายเลี่ยงเมือง-ไปอุตรดิตถ์) จากอำเภอบางระกำตัดผ่านเขตตำบลท่าโพธิ์ ด้านฝั่งตะวันตก พื้นที่หมู่ 2,3,5,6,7 สามารถใช้เป็นเส้นทางติดต่ออำเภอวังทอง ไปจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือได้  
 
         
แหล่งน้ำธรรมชาติ


แม่น้ำน่าน จำนวน 1 สาย

ลำน้ำ, ลำห้วย, ลำคลอง จำนวน 8 สาย

บึง, หนองน้ำและอื่น ๆ จำนวน 4 สาย
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

คลองชลประทาน จำนวน 1 สาย

บ่อน้ำตื้น (ใช้การได้) จำนวน 38 บ่อ

บ่อบาดาล (ใช้การได้) จำนวน 447 บ่อ

ประปาหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง

ประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง
 
 
ลักษณะของดิน
ทรัพยากรดิน จากสภาพภูมิประเทศตำบลท่าโพธิ์ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเกิดจากการทับถมของตะกอนซึ่งน้ำพัดพา ดินในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ จึงเป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย จนถึงดินเหนียว ดินบนมีสีน้ำตาลปนเทาถึงสีเทาเข้ม ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนแดง
เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดพวกตะกอนน้ำ เป็นดินลึก อุ้มน้ำได้ดี เหมาะแก่การ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาข้าว แต่จากสภาพดินที่เป็นกรด และแร่ธาตุ เช่น ฟอสฟอรัส และโปรแทสเซียม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ทำให้ผลผลิตการเกษตรตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำ เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มผลผลิต ในอดีตอาจมีปัญหาสืบเนื่องมาจากภูมิประเทศที่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขังในฤดูฝน และเกิดน้ำท่วมได้ง่าย แต่เมื่อได้มีการขุดคลองระบายน้ำ และจัดระบบชลประทานเข้าสู่พื้นที่ทำให้ศักยภาพการผลิตทางการเกษตรของพื้นที่สูงขึ้น ส่วนบริเวณที่อยู่ริมแม่น้ำน่านทั้งสองฝั่ง ภูมิประเทศจะเป็นพื้นที่ดอนกว่าพื้นที่ห่างจากฝั่ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการตกตะกอนน้ำพามาทับถม บริเวณฝั่งหรือที่เรียกว่า คันดินธรรมชาติ จึงทำให้บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎร และใช้ดินปลูกพืชไร่ พืชสวนเป็นหลัก 
ลักษณะของน้ำ
ทรัพยากรน้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของตำบลท่าโพธิ์ เพราะต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและ การเกษตรกรรม สภาพธรรมชาติของน้ำฝนที่พื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ ได้รับโดยธรรมชาติจะมีความไม่สม่ำเสมอ บางครั้งมีมากบ้างมีน้อยบ้าง อย่างไรก็ตามการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ ปัจจุบันไม่ได้เป็นการใช้เพื่อการ ทำนาปีเหมือนในอดีต แต่ปัจจุบันเป็นการทำนา ทั้งปี กล่าวคือหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จก็มีการเตรียมดินเพื่อทำการในรุ่นต่อไปทันที ไม่ได้มีการพักดินเพราะปัจจัยเรื่องน้ำเอื้ออำนวย โดยมีการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมประมาณ 18,775 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับน้ำชลประทานประมาณ 12,902.03 ไร่ เป็นพื้นที่ในเขตของหมู่ 4 ถึงหมู่ที่ 9 หรือทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ในส่วนที่ไม่สามารถจะใช้ประโยชน์จากน้ำชลประทาน รวมถึงน้ำจาก ธรรมชาติคือน้ำฝนได้ไม่มากนัก ก็จะใช้น้ำจากใต้ดินคือขุดเจาะบ่อบาดาลมาใช้ ถ้าทำเกษตรรุ่นใดไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยหลังเก็บเกี่ยวเสร็จก็จะ ทำนาต่อเนื่องทันที ซึ่งจะสังเกตได้จากถ้าเข้าไปในพื้นที่ก็จะพบว่ามีข้าวหลายรุ่นในท้องนา 
 
   
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติใน ตำบลท่าโพธิ์ ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ทั้ง ดิน น้ำ จะเห็นได้ จากเกษตรกรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี  
 
 
 
 
 
   



 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 096-674-3478,
081-534-6932
 
 
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10